ข่าวประชาสัมพันธ์

หยุดภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์! 

หยุดภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์! ลูกค้าดีแทคแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ- SMS หลอกลวงร้องเรียนผ่านเบอร์เดียวเบอร์เดิม โทร 1678

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ (กลาง) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอส.ตร.) หรือ Police Cyber Taskforce (PCT) พร้อมกับ พล.ต.อ.ปรีชา เจริญสหายานนท์ (ที่ 4 จากซ้าย) ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. และ พล.ต.ต.สุรพล เปรมบุตร (ขวาสุด) รองผบช.ภ.1 ปรก.บช.สอท. ประชุมกับทีมผู้บริหารดีแทค นำโดย นายสตีเฟ่น แฮลวิก (ที่ 2 จากซ้าย) รักษาการรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกิจการองค์กร และนายวิรัช จารุโชคทวีชัย (ซ้ายสุด) ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มงานบริการลูกค้าคอลเซ็นเตอร์ ด พร้อมทีมดีแทค เพื่อปรึกษาหารือในความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามิจฉาชีพและดูแลลูกค้าเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นเหยื่อจากการหลอกลวง รวมถึงขั้นตอนและการดำเนินการผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนร่วมกัน โดยลูกค้าดีแทคสามารถแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ- SMS หลอกลวงร้องเรียนผ่านเบอร์เดียวเบอร์เดิม โทร 1678

12 เมษายน 2565 – ดีแทคเปิดรับแจ้งภัยมิจฉาชีพ และ SMS ข้อความหลอกลวง เพื่อบล็อกและดำเนินการสอบสวน ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยลูกค้าดีแทคแจ้งได้ทั้งโทร 1678 หรือแจ้งผ่าน SMS/MMS 1678  พร้อมแนะประชาชนให้สังเกตหมายเลขที่โทรเข้ามา ถ้ามีเครื่องหมาย + เป็นเบอร์ที่โทรมาจากต่างประเทศ ควรระมัดระวังอย่ารับสาย

ลูกค้าดีแทคเจอภัยมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และ SMS หลอกลวง แจ้งดีแทคได้ 2 แนวทาง ดังนี้

1. โทร 1678 ฟังระบบตอบรับอัตโนมัติ (IVR) และกดตามขั้นตอน ระบบจะแนะนำลูกค้าในการแจ้งเลขหมายมิจฉาชีพผ่านทาง SMS/MMS  มายัง ดีแทคเพื่อดำเนินการตรวจสอบ บล็อกเบอร์  และประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสืบสวน สอบสวน และดำเนินการตามกฎระเบียบต่อไป

2. ส่ง SMS/MMS มาที่ 1678 ลูกค้าดีแทคสามารถแจ้งหมายเลขมิจฉาชีพ หรือ SMS หลอกลวง โดยสามารถแคปข้อความ  หรือเลขหมายของมิจฉาชีพ ที่โทรมาหรือ SMS ที่ส่งมา จากหน้าจอมือถือของลูกค้า แล้ว ส่งมาทาง SMS/MMS เพื่อดีแทคจะนำไปตรวจสอบ บล็อกเบอร์ ประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสืบสวน สอบสวน และดำเนินการตามกฎระเบียบต่อไป

สำหรับการรับแจ้งมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และ SMS หลอกลวงดังกล่าว ดีแทคได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เดือน กันยายน 2564 เพื่อดำเนินการบล็อกหมายเลข และระงับการใช้งานจากมิจฉาชีพ  (ถ้าตรวจพบว่าผิดจริง) เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานมือถือของลูกค้าทุกราย

นอกจากนี้ ดีแทคได้เน้นมาตรการคุมเข้มและปฎิบัติตามคำสั่งของ กสทช.มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ใน 3 ประเด็นสำคัญคือ 1.ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบของมิจฉาชีพที่เบอร์โทรเข้ามาเป็นเบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์โทรศัพท์ของประเทศไทย ที่โทรมายังเลขหมายปลายทางของลูกค้า และ 2.ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบของเบอร์ปลอมที่โทรเข้ามาเป็นรหัสโทรศัพท์ประจำประเทศ (Country Code) ที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ยังไม่ได้จัดสรรให้ประเทศใด 3. ทำระบบตรวจสอบสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่ผิดกฎหมาย ว่ามีการดัดแปลงเลขหมายหรือไม่ ด้วยระบบ Test Call Generator (TCG) เพื่อตรวจสอบหาเส้นทาง Traffic จากต่างประเทศที่อาจจะเป็นการนำเข้าในประเทศไทยโดยไม่ผ่านผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช. ซึ่งเป็นรูปแบบหลักของกลุ่มมิจฉาชีพที่อ้างเป็นคอลเซ็นเตอร์ ทำการโทรหลอกลวงเข้ามาโดยมีต้นทางจากต่างประเทศ

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอส.ตร.) และ นายสตีเฟ่น แฮลวิก รักษาการรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกิจการองค์กร ร่วมพูดคุยถึงแนวทางความร่วมมือกับดีแทคและการสนับสนุนร่วมกันอย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันลูกค้าจากมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และ SMS หลอกลวง

ทั้งนี้ ลูกค้าดีแทคยังสามารถโหลด dtac Safe เป็นบริการเสริมใหม่ บนดีแทคแอป ในลักษณะการป้องกันผ่านระบบคลาวด์ (Cloud-based security) โดยสามารถป้องกันประเภทของการคุกคามทางไซเบอร์บนมือถือ ได้หลายประเภทโดยจะได้รับการแจ้งเตือนและป้องกันการเข้าใช้งานเว็บไซต์ทันที หากตรวจพบการเข้าถึงเว็บไซต์หรือลิงค์ที่คาดว่ามีความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ตามฐานข้อมูลในระบบ โดยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานโดยระบบจะอัพเดทให้อัตโนมัติโดยไม่ต้องมีการอัพเดทด้วยตัวเอง ลูกค้าดีแทคสามารถโหลดและทดลองใช้บริการได้ 2 เดือน

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.