ข่าวประชาสัมพันธ์

ยอดอ่านทะลุ 1.5 ล้านครั้ง หลังดีแทค Safe Internet x SALMON Books เปิดตัวหนังสือรวมเรื่องสั้น

ยอดอ่านทะลุ 1.5 ล้านครั้ง หลังดีแทค Safe Internet x SALMON Books เปิดตัวหนังสือรวมเรื่องสั้น HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา บนแพลตฟอร์ม read A write

  • พร้อมเปิดตัวรูปเล่มฉบับตีพิมพ์ กลางเดือนกรกฎาคม 2565 นี้ ที่ร้านขายหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

23 มิถุนายน 2565 – หลังจากที่ดีแทค และ สำนักพิมพ์แซลมอน (Salmon Books) เปิดตัวหนังสือ HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา รวมเรื่องสั้น 9 เรื่อง จาก 10 นักเขียน ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์มาจาก สัญญาใจวัยเจนฯ Z’ ของ dtac safe Internet มาต่อยอดเป็นเรื่องเล่าที่นำเสนอให้เห็นถึงสารพัดการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ในบริบทของ Gen Z และเปิดเรื่องสั้นนอกกระแส 3 ตอน ได้แก่ ‘รู้ไหมใครโกรธ’ โดย ธนชาติ ศิริภัทราชัย, ‘Love Me Love My Sick’ โดย afterday และ ‘หนักซ้าย’ โดย ตัวแม่ ให้ผู้ที่สนใจได้อ่านฟรีบนแพลตฟอร์ม read A write ในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ล่าสุดมีนักอ่านนอกกระแสเปิดอ่านเรื่องราวดังกล่าวแล้วกว่า 1.5 ล้านครั้ง ในเวลาเพียง 6 วันหลังเปิดตัว

ส่องเรื่องสั้นหลากอารมณ์และสารพัดข้อคิด 3 ตอนที่มียอดอ่านทะลุ 1.5 ล้านครั้งบนแพลตฟอร์ม read A write

  1. ‘รู้ไหมใครโกรธ’ โดย ธนชาติ ศิริภัทราชัย เรื่องราวการไปออกเกมโชว์ของ ‘สรวิชญ์’ ชายหนุ่มนักการตลาด ผู้ไม่คิดว่าการกระทำของตัวเองในอดีตจะก่อปมในจิตใจของคนอื่นได้ ร่วมคาดเดาว่าหนึ่งในสี่คนที่มาออกรายการ ใครยังโกรธสรวิชญ์อยู่ ได้ใน ‘รู้ไหมใครโกรธ’

โดย ‘รู้ไหมใครโกรธ’ ได้แรงบันดาลใจมาจากสัญญาใจวัยเจนฯ Z ข้อ ๒ “ห้ามผู้ใดกระทำการ #ไซเบอร์บูลลี่ ต่อผู้อื่น ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีมูลเหตุจูงใจ จากการกระทำเพราะความสนุก ไม่ได้คิดอะไร แกล้งกันขำ ๆ หรือความต้องการมีตัวตน ต้องการอยู่เหนือคนอื่น หรือแม้แต่เพราะการมีทัศนคติ ความคิดเห็น หรือรสนิยมแตกต่างจากผู้อื่น หรือมีมูลเหตุอื่นในทำนองเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้กระทำไม่สามารถอ้างปัจจัยภายนอก อาทิ บรรทัดฐานของสังคม เช่น มาตรฐานความงาม (Beauty Standard) หรืออคติประการอื่นใดเป็นเหตุยกเว้นความผิด ยกเว้นโทษ ลดโทษ หรือบรรเทาโทษได้ทั้งสิ้น”

ติดตามอ่านที่ readawrite.com/c/68d78b30d02777cb4843c2a99ff0e666

  1. ‘Love Me Love My Sick’ โดย afterday เรื่องราวของ ‘เฟรม’ หญิงสาวที่ถูกชาวเน็ตรุมจวกเรื่องหน้าตา โดย ‘Love Me Love My Sick’ ได้แรงบันดาลใจมาจากสัญญาใจวัยเจนฯ Z ข้อ ๑๒ “ห้ามผู้ใดกระทำการ #ไซเบอร์บูลลี่ ในเรื่องสีผิว หน้าตา การแต่งกายของผู้อื่น ทั้งนี้ การกระทำตามวรรคหนึ่ง ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักขึ้น หากเป็นกรณีที่ผู้ถูกกระทำเพิ่งทำผมมาใหม่ หรือเพิ่งเปลี่ยนแนวการแต่งตัว หรือปรับปรุงแนวทางการใช้ชีวิต”

ติดตามอ่านที่ readawrite.com/c/07f1330d211abb9521fc62db342b9cd3?page_no=1

  1. ‘หนักซ้าย’ โดย ตัวแม่ นำเสนอไดอะล็อกในแชตที่หนักซ้ายของ ‘โดม’ ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกสะเทือนใจ และทำให้เห็นว่าการไซเบอร์บูลลี่อยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด โดย ‘หนักซ้าย’ ได้แรงบันดาลใจมาจากสัญญาใจวัยเจน Z ข้อ ๕ “ห้ามผู้ใดกระทำการ #ไซเบอร์บูลลี่ ในลักษณะการเหยียดเพศ หรือรสนิยมทางเพศต่อผู้อื่น สืบเนื่องจากความชอบทางเพศเป็นสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละคน ทั้งนี้ การกระทำตามวรรคหนึ่ง ห้ามกระทำไปถึงผู้อื่นที่เป็นเพื่อนหรือคนรู้จักของบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุแห่งการเหยียดเพศหรือรสนิยมทางเพศนั้น เพราะเป็นการแสดงถึงความไม่เคารพต่อสิทธิที่กว้างขว้างยิ่งขึ้น”

ติดตามอ่านที่ readawrite.com/c/e1f7d0cd469977fa76d0b07d6b56d85e?page_no=1

ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้ สามารถเรียกน้ำตา และเสียงฮือฮาจากผู้อ่านในทำนองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น “อ่านแล้วรู้สึกเหมือนได้รับการปลอบประโลมเลยค่ะ ดีมากๆ เลย” “เขียนดีมากจนร้องไห้จริงๆ ค่ะ รู้สึกว่าตัวเองเข้มแข็งขึ้นจากตัวเองเมื่อ 10 นาทีก่อนหลังจากได้อ่านเรื่อง Love Me Love My Sick” และ “ได้ข้อคิดเยอะมากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะสำหรับการสร้างสรรค์เรื่องราวดีๆ ให้เราได้กลับมาทบทวนตัวเอง”

ติดตามหนังสือ HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา และอีก 6 เรื่องสั้นที่เหลือโดย JittiRain, serene seaborn x summer december, จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์, โชติกา ปริณายก, นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์, สะอาด พร้อมกับอ่าน ‘สัญญาใจวัยเจนฯ Z’ ข้อปฏิบัติเสนอแนะแนวทางแก้ไขการไซเบอร์บูลลี่ที่ dtac Safe Internet จัดทำจากการรวบรวมความคิดเห็นของผู้คนวัยเจนฯ Z กว่า 1.44 ล้านข้อความได้ในหนังสือ ‘HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา’  ในเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ร้านขายหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ .

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.