ข่าวประชาสัมพันธ์

เส้นทางธุรกิจสีเขียว ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายองค์กรคาร์บอนสมดุล ปี 2030 ของแม็คโคร

เส้นทางธุรกิจสีเขียว ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป้าหมายองค์กรคาร์บอนสมดุล ปี 2030 ของแม็คโคร

“ขยะ” ถือเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายต้องร่วมกันจัดการอย่างเร่งด่วน เพราะขยะเกิดขึ้นในทุกกิจกรรมชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ผลจากรายงานของกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2563 พบว่า ประเทศไทยสร้างขยะมากกว่า 27.35 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนี้เป็น ขยะอาหารกว่า 60% ซึ่งคนไทย 1 คนสร้างขยะอาหารสูงถึง 254 กิโลกรมต่อปี

ส่วนขยะพลาสติกก็มีตัวเลขน่าตกใจ เพราะงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advance เมื่อเดือนตุลาคมปี 2563 พบว่า ประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยมีปริมาณขยะพลาสติก 4,796,494 ตันต่อปี หรือราว 69.54 กิโลกรัมต่อปีต่อคน  และมีสัดส่วนขยะพลาสติกในขยะทั่วไปมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก คือร้อยละ 17.6

ทุกภาคส่วนในสังคมไทยจึงให้ความสำคัญและพยายามจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืน รวมถึง “แม็คโคร” ผู้นำธุรกิจค้าส่งค้าปลีกที่มุ่งมั่นกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียตลอดกระบวนการทางธุรกิจ ทั้งพันธมิตรทางธุรกิจ ลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อย และพนักงาน ให้ความสำคัญกับการ “บริหารจัดการขยะ” และทำให้สามารถนำขยะกลับมาเกิดประโยชน์สูงสุด

“ศิริพร เดชสิงห์” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า แม็คโครให้ความสำคัญกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง และวางแผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าสู่การเป็นองค์กรที่มุ่งลดปริมาณขยะฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to landfill) รวมทั้งมีเป้าหมายในการเป็นองค์กรคาร์บอนไดออกไซด์สมดุล ภายในปี 2030 ซึ่งมีการตั้งโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการลดปริมาณขยะอย่างเข้มข้น ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น

◾️ ผู้นำห้างโมเดิร์นเทรดที่ไม่แจกถุงพลาสติกแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่วันแรกที่เปิดดำเนินการจนถึงปัจจุบันผ่านมากว่า 30 ปี ลดถุงพลาสติกไปแล้วกว่า 5,400 ล้านใบ
◾️ โครงการ “Zero Food Waste to Landfill” เปลี่ยนขยะจากเศษอาหารส่วนเกินให้เป็นประโยชน์ ด้วยการนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนแก่ชุมชนโดยรอบสาขา
◾️ โครงการ “Zero Food Waste to Landfill” เปลี่ยนขยะจากเศษอาหารส่วนเกินให้เป็นประโยชน์ ด้วยการนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนแก่ชุมชนโดยรอบสาขา

“ในปัจจุบันผู้ประกอบการและผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจและหันมาใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัญหาจากสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดและส่งผลต่อการลดปริมาณขยะมากที่สุดก็คือ การแยกขยะให้ถูกต้องเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อให้การจัดการขยะเป็นไปได้ง่ายและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งหากทำได้ทั้งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และผู้ประกอบการรายย่อย ทุกภาคส่วนก็จะมีส่วนช่วยโลกของเราได้” ศิริพร กล่าว

ทั้งนี้ มีการเก็บข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษอีกว่า ขยะที่นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2559 จำนวน 5.81 ล้านตัน เป็น 11.93 ล้านตัน ในปี 2563 แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีขยะอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการกำจัดที่ถูกต้อง ▪️▪️▪️

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.