ข่าวประชาสัมพันธ์

ทรู คอร์ป ชวนมา “ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” เปิดจุดรับ e-Waste ที่ทรูช็อป ทรูสเฟียร์ และศูนย์บริการดีแทค 154 สาขาทั่วประเทศ

ทรู คอร์ป ชวนมา “ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” เปิดจุดรับ e-Waste ที่ทรูช็อป ทรูสเฟียร์ และศูนย์บริการดีแทค 154 สาขาทั่วประเทศ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าไปด้วยกัน

19 มิถุนายน 2566 – ทรู คอร์ปอเรชั่น กำหนดเป้าหมายเป็นองค์กรจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี พ.ศ. 2573 เปิดตัวโครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” อำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถนำสมาร์ทโฟนเก่า โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่เลิกใช้งาน มาทิ้งได้ที่กล่องจุดรับขยะ e-Waste ทั้งที่ ทรูช้อป ทรูสเฟียร์ และศูนย์บริการดีแทค รวม 154 สาขาทั่วประเทศ พร้อมผนึกพันธมิตรชั้นนำจากหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ทั้ง ออลล์ นาว โลจิสติกส์, โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ในการขนส่งและรีไซเคิล รวมถึงทรูคอฟฟี่, PAUL, เต่าบิน, Sukishi Korean Charcoal Grill, NARS, Ultima II และเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าเลือก “Drop for Rewards” เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนเพื่อชีวิตที่ดีกว่าไปด้วยกันได้แล้ววันนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TinkTookTee-DTorJai

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “หนึ่งในพันธกิจเร่งสร้าง ทรู คอร์ป สู่การเป็น Telecom-Tech Company อย่างเต็มรูปแบบ คือการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทั้งแบรนด์ทรูและดีแทคต่างเป็นช่องทางจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือและดีไวซ์รวมมากกว่าล้านเครื่องต่อปี บริษัทฯ จึงตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแบบครบวงจรและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อร่วมลดปริมาณขยะฝังกลบให้เป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2573 ทั้งนี้ โครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ เป็นผลจากการนำจุดแข็งของเราสององค์กรมาสานต่อและยกระดับให้เกิดการจัดการ e-Waste ที่ขยายจุดรับทิ้งขยะให้ครอบคลุมทั่วประเทศ มีการจัดการขนส่งขยะไปสู่ระบบการรีไซเคิลที่ถูกวิธีอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การมอบสิทธิพิเศษที่หลากหลายจากองค์กรพันธมิตรของทั้งทรูและดีแทค นี่คือ พันธกิจสำคัญของเรา ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะองค์กรที่ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ดัชนีความยั่งยืนระดับโลก Dow Jones Sustainability Indices ในตลาดเกิดใหม่กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคมต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน”

ดร.ปิยาภรณ์ ภาสกานนท์ หัวหน้าสายงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า “โครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” ที่เริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนแห่งวันสิ่งแวดล้อมโลกนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) และการเป็นองค์กรที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี 2573 รวมถึงเป้าหมายที่ 12 ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDGs ในการสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการดังกล่าวต้องการปลูกจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคม รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการใช้แล้วทุกชิ้น จะถูกนำไปคัดแยกและรีไซเคิลอย่างถูกวิธีแน่นอน และครั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีที่ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร ทั้ง TES ผู้นำด้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล ออลล์ นาว โลจิสติกส์ ที่ให้การสนับสนุนการขนส่ง e-Waste จากจุดรับทั่วประเทศ รวมถึงอีกหลากหลายแบรนด์ชั้นนำที่จะมามอบสิทธิพิเศษต่างๆ ให้แก่ลูกค้าที่ร่วมโครงการอีกด้วย”

สำหรับลูกค้าทรู-ดีแทค ที่ทิ้ง e-Waste ถูกที่ ดีต่อใจ สามารถเลือก “Drop for Rewards” กับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้แก่ ทรูคอฟฟี่ – อัปไซส์เครื่องดื่มที่ร่วมรายการ PAUL – รับส่วนลด 50% เมนูที่ร่วมรายการ เต่าบิน – รับฟรีเมนูโอริโอ้ปั่น มูลค่า 55 บาท Sukishi Korean Charcoal Grill –  รับฟรีคอร์นด็อกซอสชีส มูลค่า 100 บาท เมื่อรับประทานบุฟเฟ่ต์ Sukishi Overload ขั้นต่ำ Gold tier Gold 699+ บาท หรือ A la carte ขั้นต่ำ 500 บาทขึ้นไป NARS – รับฟรีบริการ Touch Up มูลค่า 800 บาท Ultima II –  รับฟรี ULTIMA II Delicate Translucent Powder With Moisturizer 5g NETRAL TT มูลค่า 199 บาท และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ –  ฟรีค่าสมัครสมาชิก M Gen มูลค่า 100 บาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TinkTookTee-DTorJai

#ทิ้งถูกที่ดีต่อใจ
#truesustainability

____
#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.