ทรู คอร์ป จริงจังเรื่องนวัตกรรม การันตีด้วยรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรอินโนเวชั่นแห่งปี 2566
ทรู คอร์ป จริงจังเรื่องนวัตกรรม การันตีด้วยรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรอินโนเวชั่นแห่งปี 2566
กรุงเทพฯ 6 ตุลาคม 2566 – รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม (ขวา) ประธานคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมแสดงความยินดี พร้อมมอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2566 ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทองค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ แก่บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยนายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ (ซ้าย)หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร ในฐานะองค์กรที่ริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมที่โดดเด่น สร้างคุณค่าอันชัดเจนต่อประเทศชาติในหลากหลายด้าน ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรมในทุกภาคส่วนของสังคม พร้อมเสริมแกร่งศักยภาพนวัตกรไทย อันนำไปสู่การขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศ เนื่องในงานวันนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2566 จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน
นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า“นวัตกรรม” เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ทรู คอร์ปอเรชั่น ก้าวเป็นเทเลคอม เทคคอมปานี ที่ล้ำหน้าและเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งทรู ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติเป็นครั้งที่ 3 โดยปีนี้ ได้รับรางวัลด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทองค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจและเป็นการยืนยันความตั้งใจของทรู คอร์ปอเรชั่นในการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญด้านอินโนเวชั่นที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ โดยมุ่งมั่นสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมมาอย่างจริงจัง ตั้งแต่การปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กร “CO-CREATION” ที่เข้มแข็ง สนับสนุนและสร้างนวัตกรทรูที่เปี่ยมด้วยศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ สู่การนำศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม”
“หลังการรวมทรู-ดีแทค ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงเดินหน้านโยบายส่งเสริมด้านนวัตกรรมอย่างชัดเจน โดยภายในองค์กร มีนวัตกรทรูที่คิดค้นสิ่งใหม่ๆ กว่า 680 ผลงาน คิดเป็นรายได้และลดต้นทุนให้บริษัทได้มากกว่า 4,000 ล้านบาท ขณะที่ภายนอกองค์กร ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและพันธมิตร สร้างสรรค์นวัตกรรมกว่า 100 ผลงาน รวมถึงร่วมมือกับสตาร์ทอัพกว่า 1,000 ทีม ทำให้ขณะนี้ ทรู มีนวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก พร้อมทั้งนำผลงานไปจดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาแล้วกว่า 100 ผลงาน และอีกหนึ่งปัจจัยความสำเร็จ คือการพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคดิจิทัลอย่างตรงใจ รวมถึงนวัตกรรมเพื่อสังคม เช่น กลุ่มคนเปราะบางและการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงตั้งใจสานต่อความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยได้ตั้งเป้าหมายด้านนวัตกรรมภายในปี 2030 ที่ต้องการสร้างนวัตกรทรู 5,000 คน จัดให้มีทุนวิจัยพัฒนา 3% ของงบค่าใช้จ่าย เดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าและบริการให้มีสัดส่วนต่อรายได้รวมบริษัท 15% และจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ได้ 200 ผลงาน” นายจักรกฤษณ์ กล่าวสรุป